ระบบผลิตน้ำประปา

 

 การออกแบบระบบผลิตน้ำประปา

Segawater รับออกแบบ ติดตั้ง  ระบบผลิตน้ำประปา ระบบประปาผิวดิร รับวางระบบประปาโรงงาน เดินระบบประปาโรงงาน ระบบผลิตน้ำประปาสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม  ระบบผลิตน้ำประปาของโรงแรม รีสอร์ท และชุมชน ระบบประปาหมู่บ้าน อบต. เทศบาลและหน่วยงานต่างๆ วางระบบประปาทั่วประเทศ  

 

-ขั้นตอนการออกแบบระบบผลิตน้ำประปา มาตรฐาน

-วัตถุประสงค์ในการนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาผลิตเป็นน้ำประปา

-การที่หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ทั่งภาครัฐและเอกชน มีความต้องการที่จะนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้เพื่อผลิตเป็นน้ำประปาอาจมีความต้องการที่แตกต่างกัน เช่นในภาครัฐอาจต้องการผลิตน้ำประปาเพื่อใช้กับภาคครัวเรือนหรือประชากรในท้องที่ น้ำประปาจังหวัด น้ำประปาอบจ. น้ำประปาอบต.ประปาของศูนย์ราชการ ประปาหน่วยงานความมั่นคงโรงพยาบาล โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานศึกษาต่างๆ ส่วนภาคเอกชนอาจต้องการนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติผลิตเป็นน้ำประปา เพื่อมาใช้ในการเป็นส่วนประกอบการผลิตสินค้า

-Flow Diagram ขั้นตอนการผลิตน้ำประปาเบื้องต้น

คุณภาพน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา 

แหล่งน้ำที่นำมาผลิตเป็นน้ำประปา ปกติจะมี 3ประเภท หลักๆ

1.น้ำผิวดิน เช่น อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง ลำห้วย  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการผลิตน้ำประปาของหน่วยงานนั้นๆ 

2.น้ำบาดาล ปกติการนำน้ำบาดาล มาผลิตเป็นน้ำประปาจะต้อง เช็คอัตราการไหลของบ่อน้ำบาดาลก่อนว่าเพียงพอต่อความต้องการผลิตน้ำประปาที่เป็นการใช้งานจริงต่อพื้นที่นั้นๆ เช่นต้องการใช้น้ำที่20ลบ.ม.ต่อชั่วโมง แต่บ่อบาดาลสามารถรองรับได้แค่ 5ลบ.ม.ต่อชั่วโมงเป็นต้น

3.การผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล จะเป็นพื้นที่ห่างไกลจากชายฝั่ง เช่นตามเกาะต่างๆ หรือจากเรือเดินสมุทร

https://www.mwa.co.th/download/prd01/water_technology/pdf_water_treatment_plant/wtp_problem.pdf

https://www.mwa.co.th/ewt_news.php?nid=428&filename=indexคลิกอ่านเพิ่มเติม

 

-แหล่งน้ำดิบมีมากมายที่จะนำมาใช้เป็นระบบผลิตน้ำประปาผิวดิน แบบอัติโนมัติ และระบบผลิตน้ำประปาขนาดใหญ่แบบอื่นๆ

 

ขั้นตอนการผลิตน้ำประปาผิวดินและระบบกรองน้ำประปาผิวดิน

ค่าออกแบบที่ต้องการได้แก่

1.ความต้องการอัตราการผลิตน้ำประปาต่อวัน 

2.แหล่งน้ำที่จะนำมาเป็นเป็นน้ำประปา

-เมื่อเราได้สำรวจแหล่งน้ำดิบที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำประปาผิวดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และศึกษาช่องทางที่จะนำน้ำจากแหล่งน้ำมาเข้าระบบผลิตน้ำประปา อาจสร้างเป็นแพสูบน้ำหรือโรงสูบน้ำ 

3.พื้นที่ในการก่อสร้างและจัดตั้งโรงผลิตน้ำประปา

4.กระบวนการเลือกและออกแบบระบบผลิตน้ำประปาผิวดิน โดยมีการเลือกวิธีผลิตน้ำประปาผิวดินหลายวิธี

5.ตรวจสอบค่าน้ำประปาหลังจากผลิตน้ำประปาสมบูรณ์

6.การนำน้ำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์

7.การดูแลรักษาระบบผลิตน้ำประปา

8.การอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำประปา

หน่วยงานภาครัฐกับการผลิตน้ำประปา

กระบวนการผลิตน้ำประปานครหลวง

หน่วยงานภาคเอกชนกับการผลิตน้ำประปา

ระบบผลิตน้ำใช้ในโรงงาน

สารเคมีที่ใช้กับระบบการผลิตน้ำประปา

ถังตกตะกอนกับการผลิตน้ำประปา

 

ตัวอย่างมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค

1. คุณลักษณะทางกายภาพ

 สีปรากฏ (Apperancecolour) Pt-Co Unit 15 รสและกลิ่น(Taste and odour) - ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ ความขุ่น (Turbidity) NTU 4 ความเป็นกรด-ด่าง (pH) - 6.5 - 8.5 

2.คุณลักษณะทางเคมี 

 ปริมาณสารที่ละลายทั้งหมด (Total dissolved solids) mg/l 600 เหล็ก (Iron) mg/l 0.3 แมงกานีส(Manganese) mg/l 0.3 ทองแดง (Copper) mg/l 2.0 สังกะสี (Zinc) mg/l 3.0 ความกระด้างทั้งหมด (Total hardness as CaCO3 ) mg/l 300 ซัลเฟต(Sulfate) mg/l 250 คลอไรด์(Chloride) mg/l 250 ฟลูออไรด์ (Fluoride) mg/l 0.7 ไนเตรทในรูปไนเตรท(Nitrate as NO3 ) mg/l 50 ไนไตรท์ในรูปไนไตรท์(Nitrite as NO2 ) mg/l 3 

3.คุณลักษณะทางจุลชีววิทยา

 โคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด(Total Coliform bacteria) ต่อ100ml ไม่พบ อีโคไล (E.coli) ต่อ100ml ไม่พบ สแตฟฟิลโลค็อกคัส ออเรียส(Staphylococcusaureus) ต่อ100ml ไม่พบ แซลโมเนลลา (Salmonellaspp.) ต่อ100ml ไม่พบ คลอสทริเดียมเพอร์ฟริงเจนส์(Clostridium perfringens) ต่อ100ml ไม่พบ 

4.สารเป็นพิษ 

 ปรอท (Inorganic mercury) mg/l 0.001 ตะกั่ว (Lead) mg/l 0.01 สารหนู (Arsenic) mg/l 0.01 ซีลีเนียม(Selenium) mg/l 0.01 โครเมียม (Chromium) mg/l 0.05 แคดเมียม (Cadmium) mg/l 0.003 แบเรียม (Barium) ไซยาไนด์ (Cyanide ) mg/l mg/l 0.7 0.07 1/2 มาตรฐานคุณภาพน ้าประปาของการประปาส่วนภูมิภาค(ต่อ) ตามค้าแนะน้าขององค์การอนามัยโลก(WHO) ปี 2011 รายการ (Parameter) หน่วย (Units) มาตรฐาน คุณภาพน ้าประปา 

5.สารเคมีที่ใช้ป้องกันและก้าจัดศัตรูพืช

 อัลดรินและดิลดริน (Aldrin and dieldrin) µg/l 0.03 คลอเดน (Chlordane) µg/l 0.2 ดีดีที (DDT) µg/l 1 เฮปตาคลอและเฮปตาคลออีพอกไซด์ (Heptachlor and heptachlor epoxide) µg/l 0.03 เฮกซะคลอโรเบนซีน(Hexachlorobenzene) µg/l 1 ลินเดน (Lindane) µg/l 2 เมททอกซิคลอร์ (Methoxychlor) µg/l 20

 6. ไตรฮาโลมีเทน 

คลอโรฟอร์ม (Chloroform) µg/l 300 โบรโมไดคลอโรมีเทน (Bromodichloromethane) µg/l 60 ไดโบรโมคลอโรมีเทน(Dibromochloromethane) µg/l 100 โบรโมฟอร์ม (Bromoform) µg/l 100

 7. สารกัมมันตภาพรังสี

 ความแรงรวมรังสีแอลฟา (Gross alpha activity) Bq/l 0.5 ความแรงรวมรังสีเบต้า (Gross beta activity) Bq/l 1

 หมายเหตุคลอรีนคงเหลือในระบบจ่ายน้้าประปาไม่น้อยกว่า 0.2 mg/

 ระบบผลิตน้ำประปาที่ได้มาตรฐาน สามารถนำมาผลิตเป็นน้ำดื่มได้อย่างปลอดภัย

 

 

 

-การทำน้ำให้ใสจากแหล่งน้ำผิวดินตามธรรมชาติ โดยปกติจะใช้กระบวนการทำระบบเติมสารเคมีเพื่อเร่งตะกอนให้ตกตะกอนลงในถังตกตะกอน ก่อนที่น้ำใสจะไหลลงรางรับน้ำด้านบนของถังตกตะกอนและเข้าสู่ถังเก็บน้ำใสต่อไป หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการกรองน้ำเพื่อให้ได้คุณภาพน้ำที่ต้องการ

-กระบวนหรือขั้นตอนการผลิตน้ำประปาผิวดิน เริ่มจากการสูบน้ำดิบ แล้วเข้าสู่กระบวนการเติมสารเคมีเร่งตกตะกอน อาทิ สารส้ม แพค หรือโพลิเมอร์ โซดาไฟหรือคลอรีน ก่อนเข้าสู่ถังตกตะกอน อนุภาคของสารแขวนลอยจะรวมกันสู่ก้นถังตะกอน น้ำใสจะถูกดันขึ้นด้านบนถังตะกอน ต่อไป และจะเข้าสู่ถังพักน้ำใส หลังจากนั้นจะผ่านกระบวนการกรองน้ำ และอาจจะเติมคลอรีนฆ่าเชื่อในน้ำ เพื่อนำน้ำประปาไปใช้ต่อไป

-คุณภาพน้ำประปาที่ได้ ควรมีค่าความขุ่นของน้ำไม่เกิน 5 Ntu

-การกรองน้ำจากน้ำบาดาล ควรคำนึงถึงค่าหินปูน สนิมเหล็ก และค่าความเค็มในน้ำเป็นหลัก ว่าเหมาะสมที่ท่านจะลงทุนในการใช้น้ำหรือไม่

รุปงานติดตั้งระบบผลิตน้ำประปาผิวดิน แบบอัติโนมัติ 

 

 การนำน้ำผิวดินจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ขึ้นมาเพื่อปรับสภาพความใสของน้ำโดยใช้ระบบเคมีช่วยในการตกตะกอนระบบผลิตน้ำประปาผิวดินแบบอัติโนมัติโดยการผ่านระบบกรองตะกอนอีกขั้นแบบถังกรองออโตเมติก

ระบบผลิตน้ำประปาผิวดินโดยการใช้ระะบบเติมเคมีช่วยเร่งในการตกตะกอนแบบอัติโนมัติ

การออกแบบขนาดถังตกตะกอนที่ใช้ในกระบวนการผลิตน้ำประปาผิวดิน สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือสภาพน้ำดิบจากแหล่งน้ำที่เป็นปัจจัยในการออกแบบ เเละเลือกขนาดถังตกตะกอนที่จะนำมาใช้งานให้ได้ปริมาณน้ำใส ในอัตราที่ต้องการ

วีดีโอแสดงน้ำใสล้นออกจากรางเวียร์ จากการนำน้ำผิวดินมาทำเป็นน้ำประปา

วีดีโอแสดงการทำน้ำใส ในกระบวนการผลิตน้ำประปาจากบ่อน้ำผิวดิน โดยใช้ถังตกตะกอนแบบ jet clarifier 

i

วีดีโอการทำน้ำประปาด้วยการใช้ถังตกตะกอน โดยในการทำน้ำประปาผิวดิน ออกแบบโดยการใช้เคมีช่วยเร่งตกตะกอน

ระบบตกตะกอน clarifier tank ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ทำน้ำประปาผิวดิน

ถังตกตะกอนแบบ Pulsator Sedimentation Tank ผลิตน้ำประปาผิวดิน

Visitors: 111,510